วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

SaaS “Software as a Service”


    
Saas เป็นคำย่อมาจาก Software as a service เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานซอฟแวร์ (Software) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต (Internet) โดยไม่ต้องทำการลงซอฟแวร์ (Install) และดูแลรักษา (Maintenance) อย่างเช่น การต้องมาคอยแบคอัพ (Backup) ข้อมูลป้องกันข้อมูลหาย เป็นต้น จะเห็นว่าแนวคิดบริการ Saas นั้นจะทำให้ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่อเครือข่ายก็สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องสนใจความซับซ้อนภายในของซอฟแวร์ และยังไม่ต้องสนใจการดูแลรักษาฮาร์ดแวร์อีกด้วย

     SaaS ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ซื้อเนื่องจากการจะใช้ซอฟต์แวร์บางประเภทเช่น ERP, CRM มักจะมีราคาค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ Hardware เพิ่มเติม เช่น Server, Harddisk นอกจากนี้ธุรกิจหรือองค์กรยังต้องเตรียมพร้อมค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษา (Maintenance Cost) ในระยะยาวซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายจุกจิกไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างทีมงาน IT ค่า Backup ข้อมูลค่าเสื่อมของอุปกรณ์ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ประกันความเสียหายให้กับ Server เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดมีความยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมการค่อนข้างนานแต่ SaaS เปลี่ยนความยุ่งยากทั้ง หมดเหล่านี้ให้กลายเป็นเรื่องง่ายเพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลฐานข้อมูล และระบบต่างๆให้พร้อมใช้งานได้ทันที 

ลักษณะผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ SaaS     ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ประเภท SaaS ทำหน้าที่เหมือนเป็น Host Application โดยเปิดสิทธิ์ให้ลูกค้า (End User) จากทั่วโลกเข้ามาแชร์ การใช้งานซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ร่วมกันผ่านทางเว็บเบราเซอร์ โดยใช้ Username และ Password เพื่อระบุความเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นๆ เพื่อเข้าสู่ระบบในการใช้งานแต่ละครั้ง ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลต่างๆ เข้าสู่ระบบและเรียกดูได้ในภายหลัง เมื่อการใช้งานเสร็จสิ้นก็แค่ทำการ Log Out ออกจากระบบ ระบบก็จะถูกปิดและรอการเรียกเข้าใช้ใหม่ในครั้งต่อไป

     ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภท Saas ที่เป็นบริการฟรี เช่น Web-based Email Service ต่างๆ เช่น Hotmail, Gmail, Yahoo, Facebook, Twitter, eBay, Amazon ที่มีการเก็บโปรแกรมและข้อมูลต่างๆไว้ที่ Host แล้วให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ application ต่างๆ ผ่านทางเว็บได้ หรือตัวอย่างบริการซอฟต์แวร์ SaaS ที่คิดค่าบริการและได้รับความนิยม เช่น NetSuite, Salesforce, Thinkfree, Zimbra, Zoho, CRMOnDemand ที่คิดค่าบริการการเข้าใช้ซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน

คุณสมบัติหลักของซอฟต์แวร์ SaaS
  • สามารถเข้าใช้ผ่านเว็บ Browser ผ่านอุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Laptop) หรือโทรศัทพ์มือถือ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เครื่องของผู้ใช้ 
  • ระบบหลักของ SaaS จะถูกควบคุมจากผู้ให้บริการ SaaS เอง โดยผู้ใช้บริการเพียงแค่ access เข้ามาด้วย Username และ Password เพื่อระบุตัวตนเท่านั้น
  • SaaS คิดค่าบริการตามจำนวนผู้ใช้งานและระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน โดยจะไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการช่วยเหลือ ค่าแก้ไขบั๊กของโปรแกรม การอัพเดทต่างๆ เพิ่มเติม 
  • การปรับแต่งซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งานสามารถทำได้ผ่านโปรแกรม แต่หากผู้ใช้งานต้องการปรับแต่งคุณสมบัติพิเศษ อื่นๆ เฉพาะเพิ่มเติม จำเป็นต้องว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ที่มีความเชี่ยวชาญกับโครงสร้างของแอพลิเคชั่นนั้นๆ ปรับแต่งให้ 
  • มีลักษณะการใช้งานที่ง่าย มีคู่มือการใช้งานที่ละเอียดและมีหลายภาษา เพื่อรองรับผู้ใช้งานจากทั่วโลก

ตารางเปรียบเทียบการใช้ซอฟต์แวร์แบบ License และ SaaS
ซอฟต์แวร์แบบ License (เก่า)
ซอฟต์แวร์แบบ SaaS
ค้่าใชจ่ายในการลงทุนลงทุนสูงใสช่วงแรกต้องเตรียมเงินทุน มากในการซื้อ Hardware, ซอฟต์แวร์ License, ค่าดูแลรักษาระบบ ทำให้ไม่สามารถ ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้ก่อนล่วงหน้าลงทุนต่ำในช่วงแรกไม่ต้องลงทุนสำหรับ Hardware, ซอฟต์แวร์ License และค่าดู แลรักษาระบบ มีค่าใช้จ่ายที่แน่นอน ตายตัว เป็นรายเดือน ทำให้สมามารถตั้ง Budget ได้ง่ายกว่า
ความเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ผู้ซื้อจ่ายครั้งเดียว มีสิทธิ์เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์โดยถาวรผู้ซื้อ เป็นแค่ ผู่เช่า เพื่อใช้ซอฟต์แวร์ ตามระยะเวลา ที่จ่ายค่าบริการไป และไม่มีสิทธิ์ เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์โดยถาวร
ทรัพยากรบุคคลด้านไอทีต้องการทีมงาน IT ที่มีความเชียวชาญเนื่องจากซอฟต์แวร์ ที่มีความซับซ้อน ทำให้บริษัทต้องมีทีม IT ที่คอยดูแล สำหรับการติดตั้ง และคอยดูแลรักษาระบบในแต่ละวันต้องการแค่ผู้ประสานงาน IT Hardware และซอฟต์แวร์ทำงานอยู่ในฝั่งผู้ให้บริการ ดังนั้นผู้ซื้อแค่จัดเตรียมคนที่มีพื้นฐานด้าน IT เพียงเล็กน้อยในการติดต่อกับบริษัทผู้ให้บริการ ก็๋เพียงพอ
ความรวดเร็วติดตั้งเพื่อเพิ่มใช้งาน เตรียมการนานเป็นเดือน ความเชี่ยวชาญมีน้อยกว่า ทำให้่ผู้ซื้อต้องวางแผนการจัดซื้อ Hardware และยอมรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง อาจใช้เวลาถึง 1-2 เดือนก่อนล่วงหน้าในการติดตั้ง และืทดสอบความปลอดภัยเตรียมการแค่ 5 นาที เพราะผู้ใช้บริการมี Hardware และซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้การ ควบคุมอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ซื้อจึงไม่ต้องกังวลเกี่ยว กับการติดตั้ง และความปลอดภัยของระบบ
ความน่าเชื่อถือและการการ์รันตีขึ้นอยู่กับทีม IT และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ขององค์กร

ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ ต้องอาศัยความเชื่อใจ และนโยบายของผู้ให้บริการในการแก้ไขปัญหา ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้
  
ประโยชน์ด้านผู้ให้บริการ     
     1. สามารถบริหารจัดการและควบคุมซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
     2. ลดปัญหาการก๊อบปี้ซอฟต์แวร์จากซีดีได้ 100% เพราะลูกค้าจ่ายเงินตามการใช้งานจริง และได้รับเพียง Username และ Password ในการล็อคอินเพื่อเข้าใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
     3. ลดต้นทุนในการผลิตและค่าใช้จ่ายในการขายซอฟต์แวร์ เช่น ค่าแผ่นซีดี ค่าผลิตแผ่นซีดี กล่องแพ็คเกจ ค่าขนส่ง หน้าร้าน ฯลฯ
     4. สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ของลูกค้าได้อย่างละเอียดและ Real time
     5. สามารถอัพเดท ปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ได้ง่าย เพราะสามารถทำที่ฝั่งผู้ให้บริการได้ทันที
     6. ลดปัญหาการติดต่อสอบถามปัญหาการใช้งานของลูกค้าที่เกิดจากการติดตั้ง และการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ไม่ถูกต้อง 
     7. ทำให้เกิดการผูกติดกับลูกค้าในระยะยาว เนื่องจากฐานข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าถูกเก็บไว้ที่ฝั่งผู้ให้บริการ 

ประโยชน์ด้านผู้ซื้อ     
     1. ลดต้นทุนในการซื้อซอฟต์แวร์ เพราะมีลักษณะการคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-go คือจ่ายตามระยะเวลาที่ใช้งานจริง ไม่ต้องจ่ายก้อนใหญ่ทีเดียว
     2. ลดต้นทุนในการซื้อฮาร์ดแวร์ เช่น Server, Harddisk เพราะทั้งหมดนี้ผู้ให้บริการจะเป็นผู้รับผิดชอบ
     3. ลดต้นทุนในการจ้างทีมงาน IT ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อการติดตั้ง ดูแลรักษาระบบและแก้ปัญหาซึ่งจะตามมาด้วยค่าสวัสดิการต่างๆ 
     4. ลดเวลาในการวางแผน ติดตั้ง และดูแลรักษาในระยะยาวเพียงแค่จ่ายค่าบริการ ผู้ซื้อสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ที่ต้องการได้ทันที
     5. สะดวกในการเข้าใช้ เพราะสามารถเข้าใช้ซอฟต์แวร์ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราเซอร์
     6. ไม่ต้องคอยอัพเดทโปรแกรมด้วยตัวเอง เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลให้ทั้งหมด

ข้อจำกัดด้านการใช้งาน     
     1. ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น หากองค์กรนั้นๆ มีระบบภายในแต่เดิมที่ซับซ้อน หรือ หากองค์กรนั้นๆ มีระบบ SaaS อื่นที่ใช้อยู่ การให้ทุกระบบนั้นเชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์เป็นไปได้ยาก เพราถูกพัฒนากันคนละแพลตฟอร์ม 
     2. การปรับแต่ง (Customization) ยังต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์ในการปรับคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะบางองค์กรอาจจะมีกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อน 

ตัวอย่างซอฟต์แวร์ SaaS     
            Salesforce.com (http://www.salesforce.com/) คือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ SaaS ประเภท CRM ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 โดยผู้บริหารของ หลายปีที่ผ่านมา Salesforce เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็นสมาชิกกว่า 77,300 รายทั่วโลก และในปี 2010 ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นอันดับหนึ่งด้านผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ CRM สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จากนิตยสาร CRM (http://www.destinationcrm.com/Articles/ReadArticle.aspx?ArticleID=68708) บริการ SaaS ที่น่าสนใจได้แก่ Sales Cloud, CRM Cloud, Chatter, Force.com ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดเป็นบริการประเภท SaaS เหมือนกัน
             Netsuite.com (http://www.netsuite.com) คือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ SaaS ประเภท ERP, CRM, Inventory และ E-Commerce ซึ่งจะครอบคลุมกว่า Salesforce เนื่องจากสามารถเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ที่ทาง Netsuite ให้บริการอยู่ได้อย่างครบวงจร เรียกได้ว่าสามารถทำงาน ได้เทียบเท่ากับระบบ ERP ที่เป็นแบบติดตั้ง (Premise ERP) แบบเดิมได้อย่างเต็มรูปแบบ

ตัวอย่างหน้าจอซอฟต์แวร์ Netsuite CRM+      จากภาพตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบหน้าตาซอฟต์แวร์แบบ SaaS แทบจะไม่ต่างจากซอฟต์แวร์ แบบ License แต่อย่างใด ต่างกันเพียงแค่การเข้าใช้ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เท่านั้น โดยการพิมพ์ URL เพื่อเข้าสู่หน้า Login เพื่อเข้าสู่ระบบ โดยภายในระบบ Netsuite จะมีเมนูในการจัดการเมนูและการจำกัดสิทธิ์ ผู้เข้าใช้งาน เช่น พนักงานขาย พนักงานฝ่ายการตลาด ผู้จัดการ ผู้บริหาร เพื่อเห็นหน้าสรุปข้อมูลที่จัดแสดง อยู่ในรูปแบบ Dashboard หน้าแรกที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งาน


จากภาพตัวอย่าง 
      เป็นการแสดงหน้าจอ Dashboard ของพนักงาน ฝ่ายการตลาดที่ต้องการ เห็นข้อมูลที่แตกต่างจากฝ่ายขาย เช่น อาจจะต้อง การดูกำไรที่ได้จากการจัด แคมเปญทางการตลาดต่างๆ หรือดูยอดขาย เทียบกับ KPI ของตนเอง ว่าบรรลุแล้วหรือยัง เป็นต้น

บทสรุป SaaS     
           ในปัจจุบัน แนวคิด SaaS ถูกนำไปใช้กับการเข้าใช้เว็บไซต์ทั้งในรูปแบบการให้บริการฟรี และแบบคิดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างบริการฟรี อาทิเช่น Hotmail, Yahoomail, Facebook, Twitter เป็นต้น แต่หากมองถึง SaaS ที่เป็นแบบคิดค่าใช้จ่าย เช่น Netsuite, Salesforce, CRMonDemand เป็นต้น ความคาดหวังของผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการย่อมแตกต่างกัน เพราะการใช้แอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องพึ่งผู้ให้บริการแต่เพียงฝ่ายเดียว หากเกิดกรณีที่ระบบล่ม หรือซอฟต์แวร์ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ธุรกิจอาจจะเกิดผลกระทบได้ ดังนั้น ระบบแอพลิเคชั่นจะต้องมีความเสถียรสูง ที่จะรองรับการใช้งานพร้อมกันทั่วโลก ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำงานได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 7 วัน 

     การตัดสินใจซื้อซอฟต์แวร์ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์แบบ License หรือ SaaS จำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อดีข้อเสีย และลักษณะของธุรกิจว่าเหมาะสม กับประเภทไหนมากกว่ากัน โดยเฉพาะการลงทุนซอฟต์แวร์ประเภท License นั้นบริษัทไม่ได้ลงทุนแค่เฉพาะ License อย่างเดียว แต่เป็นการลงทุน ในด้านอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้าน Hardware ค่าจ้างทีมงาน IT ค่าดูแลรักษาระบบ ค่าเสื่อมของอุปกรณ์ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดเหล่า นี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าและความ ปลอดภัยแล้ว อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่หากธุรกิจจะหันมาใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะ SaaS ก็อาจจะต้องพิจารณาถึงความเสถียร นโยบายในการแก้ปัญหาแบบทันท่วงที หรือแม้แต่การจ่ายเพิ่มเพื่อปรับแต่งซอฟต์แวร์ ฯลฯ เพื่อหาจุดคุ้มทุน มากที่สุดและส่งผลดีกับธุรกิจมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น