วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของ Cloud Computing

ประเภทของ Cloud Computing

1.ตามกลุ่มผู้ใช้
     -Cloud ระดับองค์กร ตัวอย่าง Cloud Library เช่น OCLC (Online Computer Library Center) เป็นองค์กรที่พยายามนำห้องสมุดทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน ปัจจุบัน OCLC กำลังพัฒนาระบบ Cloud LCIS, Cloud OPAC คือ เมื่อค้นหนังสือแล้ว ผลค้นจะแสดงรายการให้เห็นว่าหนังสืออยู่ที่ประเทศใดบ้าง เป็นต้น
     -Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail เป็น Cloud ของ Google ส่วน Facebook, Meebo, Hotmail เป็น Cloud ของ Microsoft
     -Cloud ผสมผสาน เช่น Dropbox เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บไฟล์ส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถใส่ไฟล์ใดๆ เข้าไปในพื้นที่ฝากไฟล์ และสามารถดาวน์โหลดจาก URL นั้นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกันได้หลายคน ทำให้ได้ไฟล์ที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้ handy drive และสามารถแบ่งปันให้ผู้ใช้ทั่วไปดูหรือเลือกเฉพาะไฟล์ที่ต้องการเผยแพร่ได้

2.ตามการให้บริการ
          -Public Cloud เป็นการใช้บริการการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ผ่านการให้บริการของผู้ให้บริการสาธารณะ มักจะเป็นบริษัทไอทีรายใหญ่ เช่น Google, Amazon, IBM และ Microsoft ซึ่งการจัดการข้อมูลสามารถทำให้เป็นแบบเปิดหรือปิดเป็นความลับได้
          -Private Cloud เป็นการใช้งานภายในองค์กร ทั้งข้อมูลและแอพพลิเคชั่นจะถูกจัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยบน Data Center ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบ สามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆได้ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งและดูแลรักษาให้เท่านั้น จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กร
           -Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud เลือกแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ ได้ โดยมีความสามารถทั้งสองแบบ


3.ตามประเภทของเทคโนโลยี
            -SaaS (Software as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นบน Cloud ทำให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ Applications บน Cloud เช่น G-mail,
Google Apps, Facebook, Dropbox
                        -Google Document ให้บริการโปรแกรมใช้งานในออฟฟิศต่างๆ สามารถทำงานพื้นฐานทุกประเภทได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการทำรายการสัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย การเรียงลำดับตามคอลัมน์ การเพิ่มตาราง รูปภาพ ข้อคิดเห็น สูตร เปลี่ยนแบบอักษรและอื่นๆ การสร้างเอกสารหรืออัพโหลดข้อมูลสามารถทำได้ง่าย เพราะมีหน้าตาที่คล้ายกับโปรแกรมออฟฟิศทั่วไป ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยรองรับรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้กันส่วนใหญ่ ได้แก่ DOC, XLS, ODT, ODS, RTF, CSV และ PPT เป็นต้น และการใช้งาน Google Document นั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
                        -ระบบการรับ-ส่งอีเมล์ และบริการซอฟต์แวร์ เช่น Hotmail, Yahoo Gmail, Facebook และAmazon เป็นต้น เพียงล็อคอินเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตและสมัครเปิดเข้าใช้บัญชีอีเมล์ของผู้ให้บริการข้างต้น ก็สามารถใช้งานรับ-ส่งอีเมล์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ใดๆ ในเครื่อง
           -IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานของระบบ เช่น หน่วยประมวลผล (Processing Unit) เครือข่ายข้อมูล (Network) ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ (Hosting) ผู้ใช้บริการจะสามารถเช่าเวลาในการประมวลผล ซื้อเวลาและขนาดของ ช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล หรือขนาดของพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการได้ Hardware บน Cloud เช่น Amazon,Dropbox
           -PaaS (Platform as a service) บริการแพลทฟอร์ม คือให้บริการนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม โดยผู้รับบริการสามารถพัฒนาโปรแกรมระบบ ได้แก่ บริการ Google App Engine ซึ่งผู้รับบริการสามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ประเภท Web Application บนเว็บที่มีอัตราการเข้าชมสูง โดยไม่ต้องจัดการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอัตราการเข้าชมที่สูง การเขียนโปรแกรมนั้นนักพัฒนาสามารถใช้ภาษา Java หรือ Python แล้วโฮสต์โปรแกรมบน Server ของ Google ได้โดยมีค่าบริการตามจำนวน Transaction หรือ Data storage Platform พัฒนาซอฟต์แวร์
บน Cloud เช่น Microsoft Azure





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น